แนวทางการกำหนดระเบียบการลา (Leave Policy Guides)

image_pdfExport to PDF

ตัวอย่างนโยบายการลางานอย่างง่ายในประเทศไทย

เอกสารฉบับนี้แสดงแนวทางนโยบายการลางานอย่างง่ายด้วยคำอธิบายที่ครอบคลุมถึงรูปแบบของการลางานของพนักงานสำหรับบริษัทในประเทศไทยซึ่งเป็นการอธิบายโดยย่อ และมีคำอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นที่เห็นเป็นประโยชน์ โดยสามารถพิมพ์เอกสารนี้ หรือปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับข้อบังคับของบริษัทของคุณ และพิมพ์ใหม่ (เป็นภาษาไทย) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบการทำงานของบริษัทของคุณ

การเตรียมระเบียบการลาที่ดี จะทำให้แผนกบุลคลมีแนวทางในการบริหารและจัดการกับความเสี่ยงโดยการร่วมมือกับนายจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวมไปถึงการสิ้นสุดการจ้างงานของพนักงานด้วย

เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยบริษัทในการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อบังคับการลางาน ดังนั้นเนื้อหาในเอกสารนี้จึงจัดทำเพื่อประโยชน์ในการเสนอแนวทางเท่านั้น โปรดติดต่อรับบริการจากผู้เชี่ยวชาญการบริหารงานบุคคล หากต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

คุณสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ Totem Leave ซึ่งมีข้อมูลที่อัพเดทเกี่ยวกับการบริหารการลางาน รวมทั้งวิธีการที่จะทำให้ความปวดหัวเรื่องการบริหารการลางานหมดไป ด้วยการย้ายข้อมูลทั้งหมดไปไว้ที่ cloud โดยจ่ายค่าบริการรายปี ซึ่งจะมาพร้อมกับรายงานต่างๆที่ครบถ้วน รายการเตือนความจำ (reminders) และแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

นโยบายการลางาน

ลาพักร้อน

  1. พนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับวันลาพักร้อน
  2. วันลาพักร้อนเริ่มสะสมตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
  3. พนักงานไม่สามารถลาพักร้อนได้ หากอยู่ในช่วงทดลองงาน
  4. พนักงานได้รับวันลาพักร้อนทั้งหมด 7 วันต่อปี สำหรับ 5ปีแรกของการทำงาน (หากเข้าทำงานไม่ครบ 1 ปีจะลดหลั่นตามสัดส่วนไป)
  5. เมื่อคำนวณระยะเวลาการทำงาน ต้องใช้วันเริ่มต้นของพนักงานในการคำนวณระยะเวลาของการทำงาน หากมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิที่พึงได้ในระหว่างปีหนึ่งๆ การคำนวณวันลาจะเป็นสัดส่วนตามระยะเวลาการทำงาน โดยใช้วันเริ่มต้นการทำงานเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงสิทธิสำหรับปีนั้น
  6. พนักงานที่ทำงานระหว่าง 6ถึง 10ปีที่บริษัท จะได้รับวันลาพักร้อนทั้งหมด 12วัน
  7. พนักงานที่ทำงานมากกว่า 11ปีที่บริษัท จะได้รับวันลาพักร้อนทั้งหมด 15วัน
  8. พนักงานสามารถขอทบวันลาพักร้อนไปยังปีถัดไป โดยผู้จัดการของพนักงานนั้น สามารถอนุญาตให้ทบวันลาพักร้อนได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ของวันลาพักร้อนต่อปีของพนักงาน วันลาพักร้อนที่ทบมาจากปีก่อนจะต้องใช้ภายใน 3เดือนแรกของปีถัดไป
  9. หากพนักงานไม่ใช้วันลา ผู้จัดการสามารถตัดสินใจที่จะให้พนักงานลาหยุด หรือจ่ายพนักงานสำหรับวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ใช้1
  10. การคำนวณวันลาพักร้อนนั้น เป็นการคำนวณแบบเต็มทั้งปี โดยเริ่มจากต้นปี2

ลาป่วย

  1. พนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับวันลาป่วย
  2. วันลาป่วยเริ่มสะสมตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
  3. พนักงานได้รับวันลาป่วยทั้งหมด 30 วันต่อปี
  4. เมื่อลาป่วยพนักงานต้องระบุเหตุผล
  5. หากลาป่วยติดต่อกัน 2 วันหรือมากกว่านั้น พนักงานต้องแสดงใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับ
  6. การคำนวณวันลาป่วย เริ่มคำนวณใหม่ตอนต้นปี
  7. วันลาป่วยที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถทบไปยังปีถัดไปได้
  8. พนักงานที่กำลังทดลองงาน สามารถลาป่วยได้

ลาคลอด

  1. พนักงานที่กำลังตั้งครรภ์มีสิทธิที่จะลาคลอดได้
  2. พนักงานมีสิทธิในการลาคลอด ตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าร่วมมาเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท
  3. พนักงานมีสิทธิที่จะลาคลอดได้ 983 วันต่อการตั้งครรภ์ครั้งหนึ่งๆ
  4. พนักงานจะได้รับค่าจ้างในช่วงการลาคลอดเพียง 45วัน
  5. การลาคลอดนั้นสามารถรวมไปถึงการลาก่อนคลอดได้ด้วย
  6. วันลาคลอดรวมวันหยุดราชการ และวันหยุดเสาร์อาทิตย์
  7. พนักงานที่ลาคลอดต้องแสดงใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับ
  8. วันลาคลอดที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถทบไปยังปีต่อไปได้

ลากิจ4

  1. พนักงานทุกคนมีสิทธิลากิจได้ 3วันต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจให้ค่าจ้างในวันลากิจ และอาจขยายวันลากิจได้
  2. การลากิจจะสามารถใช้ในกรณีที่ต้องลาไปทำเอกสารทางราชการที่ไม่สามารถทำในวันหยุดหรือวันหยุดราชการได้ ตัวอย่างของการลากิจมีดังต่อไปนี้
    1. การต่อใบขับขี่
    2. การต่อบัตรประชาชนหรือพาสปอร์ต
    3. การทำเรื่องเกี่ยวกับทะเบียนบ้าน
  3. การลากิจเพื่อไปทำธุระกิจ จะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบริษัทนั้นๆ
  4. วันลากิจที่ไม่ได้ใช้ ไม่สามารถทบไปยังปีถัดไปได้
  5. พนักงานที่กำลังทดลองงานมีสิทธิในการใช้วันลากิจ

ลาฝึกอบรบ5

  1. พนักงานทุกคนมีสิทธิลาฝึกอบรมได้ 5วัน หลังจากทำงานได้แล้ว 6 เดือน
  2. ต้องยื่นใบสมัคร และได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบริหารก่อนที่จะลาฝึกอบรมได้
  3. พนักงานจะได้รับค่าจ้างในวันลาฝึกอบรม
  4. วันลาฝึกอบรมสามารถขยายเพิ่มเติมได้ โดยขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหาร
  5. วันลาฝึกอบรมไม่สามารถทบไปยังปีปฏิทินถัดไปได้

ลารับราชการทหาร6

  1. พนักงานชายมีสิทธิที่จะลารับราชการทหารได้สูงสุด 60 วันต่อปีปฏิทิน
  2. สิทธิในการลา เริ่มต้นหลังจากวันที่พนักงานได้เริ่มทำงานที่บริษัท
  3. พนักงานต้องแสดงใบรับรองจากการทหารก่อนการลา เพื่อสนับสนุนคำขอในการลา
  4. วันลาไม่สามารถทบไปยังปีปฏิทินถัดไปได้
  5. พนักงานที่กำลังฝึกงานมีสิทธิในการใช้วันลารับราชการทหาร

ลาเพื่อทำหมัน7

  1. พนักงานทุกคนมีสิทธิลาเพื่อทำหมันได้
  2. ใบยื่นขออนุมัติ ต้องแนบใบรับรองแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งระบุถึงวันลาที่แพทย์แนะนำ
  3. การลานี้สามารถลาได้เพียงครั้งเดียว ในช่วงการทำงานของพนักงาน
  4. พนักงานที่กำลังฝึกงานไม่สามารถลาเพื่อทำหมันได้
1ศาลฎีกาของประเทศไทยได้ตัดสินว่านายจ้างมีความผิดมาตรา 30 ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหากนายจ้างระบุในระเบียบการทำงานว่า วันลาพักร้อนไม่สามารถที่จะทบไปยังปีถัดไปได้ ดังนั้นแม้ในระเบียบการทำงานจะไม่ได้ระบุไว้ พนักงานมีสิทธิที่จะขอรับค่าจ้างวันหยุดสำหรับวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งทบมาจากปีที่แล้ว นอกจากนี้ นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะหัก หรือลดสิทธินั้นไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
2หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือสามารถคำนวนตามรายเดือนได้
3เพิ่มวันลาจาก 90วัน ตามกฏหมายคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) 2562
4วันลากิจนั้นแตกต่างจากวันลาพักร้อน จึงต้องมีการกล่าวถึงโดยแยกออกจากกันภายในระเบียบการทำงาน กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดการลากิจได้ 3วัน และได้รับค่าจ้าง นายจ้างสามารถกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับวันลากิจได้อย่างอิสระในระเบียบการทำงาน นายจ้างควรจะตั้งหลักเกณฑ์ วันที่สามารถลาได้ต่อปี กระบวนการขออนุมัติ และระบุว่าพนักงานจะได้รับค่าจ้างในกรณีที่ลากิจหรือไม่ หลังจากที่ได้อนุมัติวันลากิจเรียบร้อยแล้ว นายจ้างไม่สามารถที่จะหักวันลาเหล่านั้นออกจากวันลาพักร้อนได้ (Chitchai Punsan of Tilleke & Gibbins International Ltd)
5นายจ้างควรจะพิจารณาให้วันลาฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายวันลา และสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมพนักงาน จากนั้นให้เก็บรักษาข้อมูลการฝึกอบรมพนักงานอย่างถูกต้อง โดยสิ่งนี้จะมอบประโยชน์ในการจ้างงานซึ่งสามารถใช้โฆษณาได้ตอนคัดเลือกพนักงาน
6เป็นข้อบังคับตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานของไทย
7เป็นข้อบังคับตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานของไทย